แชร์

การเกร้าท์หัวเสา เพื่อความแข็งแรง ให้บ้านแข็งแรงยาวนาน

อัพเดทล่าสุด: 5 ก.พ. 2024
2510 ผู้เข้าชม
การเกร้าท์หัวเสา เพื่อความแข็งแรง ให้บ้านแข็งแรงยาวนาน

 

เกราท์คอนกรีตหัวเสา

 

บ้านเดี่ยววิเชียรบุรี โครงการ อาณาคาร่า เราให้ความสำคัญกับขั้นตอนนี้มาก ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่คนส่วนใหญ่มองข้าม


 
ในการก่อสร้างอาคารที่มีโครงหลังคาเป็นเหล็กจำเป็นต้องทำการเพรทหัวเสาเพื่อทำหน้าที่รับและเชื่อมเสาคอนกรีตกับโครงหลังคาเข้าด้วยกัน เวลาเซ็ทระดับเพรทจะมีช่องว่างระหว่างเพรทอยู่จะเป็นจุดอ่อนของโครงสร้าง เพราะไม่มีคอนกรีตรับน้ำหนักมีแต่เหล็กเส้นที่รับน้ำหนักล้วนๆ เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในอนาคต

 

 วิธีแก้ก็คือใช้คอนกรีต non shrink grout เทจนเต็มเสมอแผ่นเพรท ปูนเกราท์จะมีคุณสมบัติไหลตัวได้ดี รับกำลังอัดได้สูง (800 ksc) และมีการหดตัวน้อยมากๆ จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเทคอนกรีตหัวเสา
แต่เนื่องจากคอนกรีตชนิดนี้มีราคาค่อนข้างสูง ( ราคา7เท่าของปูนโครงสร้าง)


และขั้นตอนการทำที่ยุ่งยาก จึงไม่ค่อยเห็นช่างทั่วไปเขาใช้กันหรือทำกัน อย่างมากก็ใช้ปูนฉาบใต้เพรทหรือขั้นเลวร้ายคือเชื่อมคานเหล็กใส่เหล็กเส้นของเสาแล้วจบเลย ผลักภาระให้เจ้าของบ้านไปเสี่ยงดวงเอา ก่อนซื้อบ้านควรตรวจสอบในส่วนนี้ด้วยนะคะ 


ซึ่งโครงการของเรากล้าถ่ายภาพให้ดูทุกขั้นตอน เพราะเราใส่ใจดูแลบ้านท่าน สร้างสรรค์บ้านเปรียบเสมือนอยู่เอง
 



มารู้จักปูนเกร้าท์ หรือนอนชริ้งเกร้าท์ (non shrink grout)

คือ ปูนสำเร็จรูปผสมพิเศษ พร้อมใช้งาน มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ ทรายคัดเกรด และสารเคมีผสมเพิ่ม
เมื่อผสมกับน้ำแล้ว จะมีคุณสมบัติการไหลตัวดี


สามารถไหลเข้าไปตามซอกมุมต่าง ๆ ได้ ไม่แยกชั้น หรือเกิดการแยกตัว (ไม่มีน้ำเยิ้มบนผิวหน้า) ให้กำลังอัดสูงทั้งระยะต้นและระยะปลาย (> 300 KSC / 1 วัน) ไม่หดตัว ทนต่อแรงสั่นสะเทือนและแรงกระแทกได้ดี


ในขณะที่คอนกรีต คือ ปูนซีเมนต์ + ทราย + หิน + น้ำ มีความสามารถในการเทในพื้นที่กว้าง ๆ แต่ไหลเข้าตามซอกมุมได้ไม่ดี เพราะมีส่วนผสมของหิน เมื่อแห้งและแข็งตัวจะหดตัวเล็กน้อยให้ค่ากำลังอัดเฉลี่ย 180 - 400 KSC ที่ 28 วัน



ปูนเกร้าท์ ใช้เมื่อไหร่


โดยทั่วไป มักจะใช้ปูนเกร้าท์ หรือนอนชริ้งเกร้าท์ ในงานเทฐานเครื่องจักรขนาดเล็ก ไปจนถึงเครื่องจักรใหญ่ หรือเครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือน งานเทฐานรองรับเสางานเสาตอม่อ งานฝังยึดสลัก รวมถึงงานซ่อมแซมโครงสร้างคอนกรีต และซ่อมรูโพรงช่องว่างต่าง ๆ ทั้งนี้การเทปูนเกร้าท์ในแต่ละพื้นที่จะใช้ปริมาณปูนเกร้าท์ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งการคำนวณปูนเกร้าท์ เบื้องต้น คือ ปริมาตร 1 คิว จะใช้ปูนเกร้าท์ประมาณ 1,875 กิโลกรัม (ขึ้นอยู่กับรุ่นของผลิตภัณฑ์)

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ